วันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ศาลเจ้าหม่าโจ้ว 天后宫

     ที่ตั้ง : เชิงสะพานราเมศวร์ ถนนราชดำเนิน อำเภอเมือง นครศรีธรรมราช

            าลเจ้าแห่งนี้ตั้งขึ้นเมื่อใดไม่มีหลักฐานบันทึกที่แน่นอน แต่พอประมวลได้ว่าตั้งขึ้นสมัยอยุธยาโดยพิจารณาทางภูมิศาสตร์บริเวณท่าตีน - ท่าวังและหลักฐานโบราณคดีที่แสดงให้เห็นว่าเคยเป็นอู่เรือและเป็นปากทางสัญจรเข้าออกของเมืองนครมาก่อนตั้งแต่ยุคนครดอนพระซึ่งตรงกับสมัยอยุธยา  และค้นพบโบราณวัตถุและโบราณสถานที่แสดงถึงความเป็นชุมชนชาวจีนในบริเวณนี้  ได้แก่

            ๑,โบราณวัตถุที่แสดงให้เห็นถึงการดำรงอยู่ของชาวจีนในท่าวัง - ท่าตีนที่มีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิงของจีน ตรงกับสมัยอยุธยา

            ๒,พบแผ่นสลักหน้าหลุมศพ ๒ แผ่นเคยตั้งอยู่ด้านซ้ายของหัวสะพาน(ทางขึ้นสะพานยาว)ด้านมุมทิศตะวันตกเฉียงใต้ของวัดท่ามอญ(ปัจจุบันคือวัดศรีทวี)  และถูกย้ายไปอยู่ที่วัดประดู่ แผ่นหนึ่งระบุผู้ตายชื่อ เจิ้นเอ๋อ(แต้ฮ้ว สำเนียงแต้จิ๋ว) เกิดที่อำเภอกู่ มณฑลฮกเกี้ยน ตายสมัยรัชสมัยเฉียนหลง ปีติ่งเฉ่า(ตรงกับ พ.ศ.๒๓๐๐) อีกแผ่นหนึ่งผู้ตายชื่อจูตั่ง ชาวเมืองกานโถว มณฑลฮกเกี้ยน ตายสมัยรัชสมัยเฉียนหลง ปีที่ ๓๓ (ตรงกับ พ.ศ.๒๓๑๑)


            ๓,โบราณสถานสำคัญที่ดำรงอยู่ถึงปัจจุบันคือ ศาลเจ้าหม่าโจ้วนี่เอง  ด้วยเป็นศาลเจ้าที่เคารพนับถือของชุมชน ให้ความคุ้มครองในการเดินเรือสัญญจรทางทะเล




ภายในศาลเจ้ามีแผ่นป้ายไม้ขนาดใหญ่อยู่เหนือซุ้มประธาน  จารึกเป็นอัษรจีน 波扬不海
แปลความว่าทะเลคลื่นสงบหรือทะเลไม่มีคลื่นเป็นอุปสรรค  ผู้บริจากแผ่นป้ายชื่อ เฉินเยิ่นเสอะ ชาวอำเภอเหยาผิง เมืองเฉาโจว(สำเนียงแต้จิ๋ว) จารึกในรัชสมัยกวางซี ปีติ่งไห้ (ตรงกับ พ.ศ.๒๔๓๐)

ใต้ป้ายไม้มีอักษรจีนว่า “เทียงโห่วเซี้ยบ้อ”天后聖母




ตำนานความเป็นมาของหม่าโจ้ว 

หม่าโจ้ว 妈祖 เป็นสำเนียงแต้จิ๋ว หากเป็นจีนกลาง ออกเสียงว่า "มาจู่"

          ชาวจีนฮกเกี้ยน แต้จิ๋ว กวางตุ้งและไหหลำ มีความคุ้นเคยกับทะเลมาช้านาน  แม้พวกเขาจะคุ้นเคยกับทะเล แต่ก็มีความเกรงกลัวสุดๆ คนแต้จิ๋วรุ่นก่อนพูดว่า “เกี่ยจุ๊งชุกไฮ่ซาฮุงเหมี่ย” 行船出海三分命 หมายถึงว่าแล่นเรือออกเดินทางในมหาสมุทร โอกาสมีชีวิตเหลือแค่ 30 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

        ก่อนออกเดินทาง พวกเขาและญาติพี่น้อง จะไปบนบานศาลกล่าวต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ขอให้เดินทางโดยปลอดภัย โดยสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่กราบไหว้บูชาก่อนออกเดินทาง หากเป็นคนแต้จิ๋ว ก็ไม่พ้นปึงถ่าวกง 本头公 ตั่วเหล่าเอี๊ย 大老爷 (เจ้าพ่อเสือ) และหมาโจ้ว 妈祖

          เทพมาจู่หรือหม่าโจ้ว 妈祖 ไม่ได้เป็นเทพมาตั้งแต่ต้น ท่านเกิดเป็นมนุษย์อย่างเราๆ ท่านๆ ในวันที่ 23 เดือน 3 ตามปฏิทินทางจันทรคติอย่างจีน ปี ค.ศ. 960 ปีนั้นเป็นปีแรกแห่งศักราชเจี้ยนหลง 建隆 ซ่งไท่จู่จ้าวควงอิ้น 宋太祖赵匡胤 ขึ้นครองราชย์เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ซ่ง 宋 (เริ่มราชวงศ์ซ่งเหนือ 北宋)

          มาจู่เป็นคนเกาะเหมยโจว 湄洲岛 แต่ข้อมูลบางแห่งระบุว่าไม่ได้เกิดบนเกาะ แต่บ้านเกิดอยู่แถวอ่าวใกล้เกาะเหมยโจว 湄洲湾畔 อำเภอผูเถียน 莆田 มณฑลฝูเจี้ยน 福建 หรือฮกเกี้ยนนั่นเอง พ่อของนางแซ่ลิ้ม(หลิน) ชื่อหลิ่มเต็ก 林德 แต่บางแห่งระบุหลิ่มหงวง 林愿 แม่แซ่เฮ้ง(หวางสื้อ 王氏)

          มาจู่ยามเด็กไม่ร้องไห้โยเย อยู่นิ่งๆ เงียบๆ พ่อแม่เลยตั้งชื่อว่าโม่ 默 (แต้จิ๋วว่ามิก) แปลว่าเงียบ ต่อมาจึงเรียกกันว่า หลินโม่เหนียง 林默娘 หรือแต้จิ๋วว่า หลิ่มหมิกเนี้ย

          อภินิหารของโม่เหนียง 默娘 ในการช่วยเหลือชาวประมงและนักเดินเรือ เป็นที่โจษจันตั้งแต่แม่นางยังมีชีวิตอยู่ ผู้มีประสบการณ์รอดชีวิตกลับมา  ได้แต่ขนานนามให้โม่เหนียงเป็น “ทงเสียนหลิงหนี่ว์” 通贤灵女 หรือ “หลงหนี่ว์” 龙女 แปลว่าเทพธิดาผู้รู้แจ้ง หรือเทพธิดาพญามังกร

          ความดีงามและอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ของโม่เหนียง ไม่เคยจืดจางไปจากศรัทธาของชาวบ้าน เมื่อโม่เหนียงจากไป ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันสร้างศาลเจ้าหลินโม่เหนียง 林默娘庙 เป็นที่รำลึก แต่แรงศรัทธาไม่หยุดเพียงแค่นั้น ชาวบ้านชาวช่องในเมืองในมณฑลต่างๆ ก็พากันสร้างศาลเจ้าโม่เหนียงในกาลต่อมา

          เวลาผ่านไปเป็นร้อยเป็นพันปี โม่เหนียงก็ถูกชาวบ้านยกเป็นย่าทวดยายทวด จึงเรียกว่าหมาโจ้วหรือมาจู่ 妈祖

          ศาลเจ้าโม่เหนียง จีนใช้คำว่าเมี่ยว 庙 ก็ให้เปลี่ยนมาเป็น “กง” 宫 หมายถึงวัง คำว่ากงนี้ แต้จิ๋วออกเสียงว่า “เก็ง” ฉะนั้นศาลเจ้าอาม่า 阿妈(หมายถึงศาลหลินโม่เหนียง) คนแต้จิ๋วก็เรียกว่า “หมาเก็ง” 妈宫ส่วนเทียนโฮ่ว 天后 แต้จิ๋วออกเสียงว่า “เทียงโหว”เสิ้งหมู่ 聖母 แต้จิ๋วว่า “เซี้ยบ้อ” ก็เอามาสมาสเป็น “เทียงโห่วเซี้ยบ้อ” 天后聖母 ก็หมายถึงท่านโม่เหนียงเหมือนกัน

วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2557

อึ่งค่ายท่าย


อึ่งค่ายท่าย
黃開泰


เกิดที่ เมืองเซี่ยเหมิน (จีน: 厦门市; อักษรโรมัน: Xiamen) เป็นเมืองในมณฑลฝูเจี้ยน มีชื่อตามภาษาฮกเกี้ยนว่า เอ้หมึง (Ē-mn̂g) หรือภาษาอังกฤษว่า อามอย (Amoy) หมายความว่า ประตูคฤหาสน์ เป็นเมืองที่อยู่บนเกาะ ห่างจากเกาะไต้หวันประมาณ 1 กิโลเมตร มีสัญลักษณ์เป็นนกกระยางขาว
ประเทศจืน

เมืองเซี่ยเหมิน : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี






             เดินทางออกจากประเทศจีนสู่ประเทศมาเลเซีย ทำงานเป็นลูกจ้างเหมืองแร่กับชาวออสเตรเลีย  มีความขยันอดทนและซื่อสัตย์จนเป็นที่วางใจ  เมื่อนายฝรั่งถูกย้ายมาทำเหมืองแร่ที่ หนองเป็ด อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช  จึงชวนนายอึ่งค่ายท่ายมาอยู่ด้วย  อึ่งค่ายท่ายได้ใช้ประสบการณ์ที่มีอยู่ทำงานประกอบอาชีพจนสามารถซื้อที่ดินทำเหมืองแร่ในภาคใต้ได้หลายแห่ง

สมรสกับนางจวนชาวท่าศาลา  มีบุตรธิดา 4 คน
          นายสมศักดิ์  อดิเทพวรพันธ์
          นายวรศักดิ์  อดิเทพวรพันธ์
          นายก่อศักดิ์  อดิเทพวรพันธ์
          นางฤดี  เลติกุล
             
               อึ่งค่ายท่าย  ได้สร้างสาธารณูประโยชน์มากมายแก่ชาวนครศรีธรรมราช  โดยบริจาคเงินให้แก่วัด  กองทัพ และหน่วยงานราชการ สร้างอาคารให้หน่วยงานต่างๆ เช่นสร้างอุโบสถวัดนาคคาม  อาคารที่ว่าการอำเภอร่อนพิบูลย์(หลังเก่า)สถานีอนามัยร่อนพิบูลย์ โรงพยาบาลตำรวจ(ถูกรื้อแล้ว) อาคารโรงเรียนประชาบาลวัดนาคคาม และอาคารเรียนเรือนไม้ 2 ชั้นโรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช และเป็นสัญญลักษณืสำคัญคือ ตึกอึ่งค่ายท่าย ของโรงเรียนนี้

ดำรงตำแหน่งเป็นนายกสมาคมพาณิชย์จีนจังหวัดนครศรีธรรมราชคนที่  3

>>>>>>>>>>>>>%%%%%%%%%%%<<<<<<<<<<<<<<<

วันศุกร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2557

นายกสมาคมพาณิชย์จีนคนแรก






ตัเกงฮุย 陳景輝

นายกสมาคมพาณิชย์จีนจังหวัดนครศรีธรรมราชคนแรก





 เป็นลูกหลานของชาวจีนโพ้นทะเลที่เกิดในประเทศไทย บรรพบุรุษมาจากฮกเกี้ยน ในวัยเด็กเรียนหนังสือที่ประเทศสิงคโปร์ จึงเชี่ยวชาญภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี ในวัยหนุ่มทำงานอยู่กับบริษัท มาลี ในจังหวัดนครศรีธรรมราช
                คุณตันเกงฮุยเป็นผู้ที่เอาใจใส่อย่างยิ่งต่อผลประโยชน์ส่วนรวมของสังคม กระตือรือร้นในการทำงาน  มีความอ่อนโยนและมนุษย์สัมพันธ์ดี ทำให้เป็นที่รักของชาวจีนโพ้นทะเลทั้งหลาย จึงได้รับการเลือกตั้งเป็ฯนายกสมาคมหลายสมัยตึดต่อกันถึง 10 ปี
                ตลอดเวลาที่อยู่ในตำแน่งนายสมาคม คุณตันเกงฮุย ได้ทุ่มเทให้กับภารกิจของสมาคมอย่างเต็มที่ ถึงแม้ว่ามีภารกิจของส่วนตัวมากเพียงใดก็ตาม ก็ยังได้พยายามเจียดเวลาให้กับงานสมาคมอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำ สนับสนุนและผลักดันงานชองสมาคม จนทำให้กิจการของสมาคมก้าวหน้าเป็นลำดับ สร้างผลงานไว้เป็นอันมาก

                ในช่วงเวลายาวนานที่คุณเกงฮุยดำรงตำแหน่งนายกสมาคมอยู่นั้น ถึงแม้สมาคมจะยังไม่สามารถมีอาคารที่ทำการถาวรได้ก็ตาม แต่กับกิจการของโรงเรียนจีนในสมัยนั้น คุณตันเกงฮุยได้ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ โดยในปี พ.ศ. 2473 ท่านได้ร่วมกับแกนนำชาวจีนในสมัยนั้น อาทิ คุณซุ่นถ่าย แซ่ฉั่ว คุณจือเกง แซ่อู คุณกวางโตว แซ่ตัน ร่วมกันวางแผนเพื่อหาสถานที่และก่อสร้างอาคารให้กับโรงเรียนตุงฮั้ว ซึ่งขณะนั้นยังเช่าห้องแถวธรรมดาของชาวบ้านเป็นห้องเรียน คุณตันเกงฮุยและบรรดาแกนนำได้ทุ่มเทกันอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ไม่ย่อท้อต่อความยากลำบากนานัปการที่จะหาทุนจัดหาสถานที่ก่อสร้างอาคารโรงเรียนตุงฮั้ว ซึ่งได้รับความร่วมมือสนับสนุนจากพี่น้องชาวจีนโพ้นทะเลทั้งหลายอย่างมาก จนในที่สุดก็ได้ทำการก่อสร้างอาคารเรียนถาวรเสร็จสมบูรณ์ในปีพ.ศ.2475 ทำให้โรงเรียนตุงฮั้วได้มีสถานที่และอาคารเรียนที่เหมาะสม เป็นสถานศึกษาที่สงบ ใช้เป็นที่อบรมสั่งสอนจริยธรรมอันดีงามแก่บุตรหลานของชาวจีนโพ้นทะเลในขณะนั้น
                หลังจากดำเนินการก่อสร้างอาคารถาวรเสร็จเรียบร้อยแล้ว โรงเรียนตุงฮั้วก็ได้ย้ายเข้ามาทำการเรียนการสอนในอาคารแห่งใหม่ (คือบริเวณสมาคมพาณิชย์จีนนครศรีธรรมราชในปัจจุบัน) และด้วยความร่วมมือกันเป็นอย่างดีของบรรดาครูอาจารย์และคณะกรรมการโรงเรียนแต่ละสมัย เป็นผลให้กิจการของรงเรียนได้พัฒนาก้าวหน้าอย่างน่าชื่นชม มีจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นทุกปี และได้เป็นรงเรียนที่มีบทบาทสำคัญที่ผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถออกมารับใช้สังคมจำนวนไม่น้อย

                ประมาณปีพ.ศ.2483 โรงเรียนจีนในประเทศไทยต่างเผชิญหน้ากับพายุการเมือง จนในที่สุดโรงเรียนจีนหลายแห่งต้องปิดตัวเองลงไปตามตามกัน โรงเรียนตงฮั้วประสบชะตากรรมเช่นเดียวกัน ต้องปิดตัวเองไปในที่สุด
                โรงเรียนตุงฮั้วนั้นถึงแม้สมาคมจะมิได้เข้ามาดำเนินการเองโดยตรง แต่คณะกรรมการของโรงเรียนที่ดูแลกิจการอยู่นั้น ส่วนใหญ่ก็ประกอบด้วยคณะกรรมการสมาคม ฉะนั้นสมาคมกับโรงเรียนจึงเปรียบเสมือนของสองสิ่งอยู่ในวงเดียวกัน และต่างก็เป็นสมบัติของชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลในเมืองนี้
                ภายหลังจากที่โรงเรียนตุงฮั้วปิดการสอนแล้วนั้น สมาคมก็เข้าไปใช้อาคารสถานที่โรงเรียนเป็นที่ทำการจวบจนปัจจุบัน ภายใต้การนำและวางแผนดำเนินการโดยคุณตันเกงฮุยและคณะ จนในเวลาต่อมาอาคารสถานที่โรงเรียนตุงฮั้วก็ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของสมาคมพาณิชย์จีนนครศรีธรรมราช



ที่มา : หนังสือสถาปนาสมาคมพาณิชย์จีน นครศรีธรรมราช ปี  2537
>>>>>>>>>>>>>++++++++++++++ <<<<<<<<<<<<<<<<