วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เทวาภิเษกเทพกวนอู ๒๕๕๗


           กวนอู  (อังกฤษ: Guan Yu;จีนตัวย่อ: 关羽; จีนตัวเต็ม: 關羽; พินอิน: Guān Yǔ; เวด-ไจลส์: Kuan Yu)
 เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เกิดเมื่อวันที่ 24 เดือน 6 จีนศักราชเอี่ยงฮี ปี พ.ศ. 704 ในรัชสมัยของพระเจ้าฮั้นฮวนเต้ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 เดือนที่ 7 จีนศักราชเคี่ยงเซ้ง ปี พ.ศ. 762 ในรัชสมัยของพระเจ้าฮั่นเหี้ยนเต้ มีชื่อรองว่า "หุนเตี๋ยง" (จีน: 云长) เป็นชาวอำเภอไก่เหลียง

          ลักษณะตามคำบรรยายในวรรณกรรมสามก๊ก กวนอูเป็นผู้มีรูปร่างสูงใหญ่ 9 ฟุตจีนหรือประมาณ 6 ศอก ใบหน้าแดงเหมือนผลพุทราสุก นัยน์ตายาวรี คิ้วดั่งหนอนไหม หนวดเครางามถึงอก  มีง้าวรูปจันทร์เสี้ยว ยาว 11 ศอก หนัก 82 ชั่ง เป็นอาวุธประจำกายเรียกว่า "ง้าวมังกรเขียว" หรือ "ง้าวมังกรจันทร์ฉงาย" ในจินตนาการของศิลปินมักวาดภาพหรือปั้นภาพให้กวนอูแต่งกายด้วยชุดสีเขียวและ มีผ้าโพกศีรษะ กวนอูมีความเชี่ยวชาญและเก่งกาจวิทยายุทธ จงรักภักดี กตัญญูรู้คุณ มีคุณธรรมและซื่อสัตย์เป็นเลิศ

          ในวัยหนุ่มฉกรรจ์กวนอูได้พลั้งมือฆ่าปลัดอำเภอและน้าชายตายจนต้องหลบหนีการจับกุม และพบกับเล่าปี่และเตียวหุยจนร่วมสาบานตนเป็นพี่น้องกันในสวนท้อ ร่วมทำศึกกับเล่าปี่มาโดยตลอด เป็นหนึ่งในห้าทหารเสือของเล่าปี่ ครองเกงจิ๋วร่วมกับกวนเป๋งบุตรบุญธรรมและจิวฉอง ภายหลังถูกแผนกลยุทธ์ปิดฟ้าข้ามทะเลของลกซุนและลิบองจนเสียเมืองเกงจิ๋ว กวนอูคับแค้นใจที่พลาดท่าเสียทีลกซุนและลิบองจึงนำทัพไปตีเกงจิ๋วเพื่อแย่งชิงคืน แต่ถูกจูเหียนและพัวเจี้ยงจับได้พร้อมกวนเป๋งที่เขาเจาสันและถูกประหารในปี พ.ศ. 762 รวมอายุได้ 58 ปี

ที่มา : วิกิพีเดีย


ปฏิทินจีน วันคล้ายวันประสูติเทพเจ้ากวนอู   ( กว้านอี้กง : 关羽公 )

     รวมวันคล้ายวันประสูติของเทพเจ้ากวนอู เทียบตามปฏิทินไทย-จีน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2556-2567

    ปี 2556 วันพุธ ที่ 31 กรกฎาคม 2556 ตรงกับ วัน 24 (廿四) เดือน 6 (六月大) ปีมะเส็ง(癸巳)

 

 ปี 2557 วันอาทิตย์ ที่ 20 กรกฎาคม 2557 
ตรงกับวัน 24 (廿四) เดือน 6 (六月大) ปีมะเมีย(甲午)
 




    ปี 2558 วันเสาร์ ที่ 8 สิงหาคม 2558 ตรงกับ วัน 24 (廿四) เดือน 6 (六月小) ปีมะแม(乙未)
    ปี 2559 วันพุธ ที่ 27 กรกฎาคม 2559 ตรงกับ วัน 24 (廿四) เดือน 6 (六月大) ปีวอก(丙申)
    ปี 2560 วันจันทร์ ที่ 17 กรกฎาคม 2560 ตรงกับ วัน 24 (廿四) เดือน 6 (六月大) ปีระกา(丁酉)
    ปี 2561 วันอาทิตย์ ที่ 5 สิงหาคม 2561 ตรงกับ วัน 24 (廿四) เดือน 6 (六月小) ปีจอ(戊戌)
    ปี 2562 วันศุกร์ ที่ 26 กรกฎาคม 2562 ตรงกับ วัน 24 (廿四) เดือน 6 (六月小) ปีกุน(己亥)
    ปี 2563 วันพฤหัสบดี ที่ 13 สิงหาคม 2563 ตรงกับ วัน 24 (廿四) เดือน 6 (六月小) ปีชวด(庚子)
    ปี 2564 วันจันทร์ ที่ 2 สิงหาคม 2564 ตรงกับ วัน 24 (廿四) เดือน 6 (六月小) ปีฉลู(辛丑)
    ปี 2565 วันศุกร์ ที่ 22 กรกฎาคม 2565 ตรงกับ วัน 24 (廿四) เดือน 6 (六月大) ปีขาล(壬寅)
    ปี 2566 วันพฤหัสบดี ที่ 10 สิงหาคม 2566 ตรงกับ วัน 24 (廿四) เดือน 6 (六月小) ปีเถาะ(癸卯)
    ปี 2567 วันจันทร์ ที่ 29 กรกฎาคม 2567 ตรงกับ วัน 24 (廿四) เดือน 6 (六月小) ปีมะโรง(甲辰)

วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ศาลพระเสื้อเมือง 本頭公 นครศรีธรรมราช

ศาลพระเสื้อเมือง พ.ศ. ๒๕๕๗
                   ที่ตั้ง : หลังโรงพยาบาลเทศบาล ถนนหน้าวัดสวนป่าน อำเภอเมือง นครศรีธรรมราช


         พระเสื้อเมืองทรงเมือง เป็นคติความเชื่อดั้งเดิม  โดยมีรูปเคารพ ๒ องค์ ประดิษฐานในศาลเจ้าพระเสื้อเมืองแห่งนี้มาตั้งแต่ สมัยอยุธยา  โดยมีการพบโบราณวัตถุเป็นหินสลักที่เหลือเพียงเท้าสิงห์รูปเหมือนอยู่ ๑ คู่ หินบดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๒ ฟุต ใช้สำหรับบดแป้ง  ทำให้สันนิษฐานได้ว่า  เดิมทีน่าเป็นศาสนสถานของพราหมณ์มาก่อน

          สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาภานุพันธุ์วงศ์วรเดช  ได้ทรงบันทึกในหนังสือ"ชีวิวัฒน์ บันทึกการเดินทางเสด็จประพาสหัวเมืองภาคใต้" เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๗ (สมัยรัชกาลที่ ๕)มีตอนที่กล่าวถึงเมืองนครศรีธรรมราชตอนหนึ่งว่า
ศาลเสื้อเมือง本頭公ยุคแรก

"...ข้างฟากถนนด้านตะวันตกถัดบ้านพระยานคร(ศาลากลางจังหวัดในปัจจุบัน) ไปประมาณ ๑๐ เส้น มีหมู่ตลาดอีกแห่งหนึ่ง เป็นตลาดเพิงเป็นหลังๆ ขายผ้า เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องใช้สอยต่างๆ ประมาณ ๒๑ - ๒๒ ร้าน ที่นั้นมีโรงศาลเจ้าเสื้อเมืองหลังหนึ่ง มุงจากฝาลูกกรงไม้ไผ่เหมือนโรงโป ในนั้นมีกุฏิอิฐ ๒ หน้า ข้างตะวันตกมีเทวรูปศิลาปิดทองยืนจมดินสูงสักศอกเศษ(๑ศอก = ๕๐ ซม.)หน้าข้างตะวันออกมีเทวรูปศิลาปิดทองนั่งชันเข่าสูงสักศอกเศษหนึ่ง.."

          เห็นได้ว่าในบันทึกนี้ไม่ได้กล่าวถึงรูปเคารพอื่นเลย มีเพียงพระเสื้อเมืองทรงเมืองที่มีลักษณะศิลปท้องถิ่นที่รับคติจากศาสนาพราหมณ์  และยงคงประดิษฐานอยู่ถึงปัจจุบัน


          พ.ศ. ๒๔๗๖ หนังสือ "สาสน์สมเด็จ" เล่ม ๑๗ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ทรงมีลายพระหัตถ์ถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ความตอนหนึ่งว่า
จำลองภาพตามหลักฐานเอกสาร

"...ให้นำย้อนหลังไปดูศาลเจ้าพระเสื้อเมืองเป็นโรงใหญ่ กำมะลอฝาขัดแตะ  กลางโรงมีกุฏิก่ออย่างจีน ดุจกุฏินกขุนทอง หน้ากุฏิมีโต๊ะพระเครื่องบูชาอย่างจีนตั้งในกุฏิเป็นพระพุทธรูปเก่า   หลังกุฏิมีรูปปั้นเป็นเทวดานั่งวิศวกรรมแต่มีนมดูจะเป็นนาง หลังโต๊ะมีโต๊ะเครื่องบูชาอย่างจีนตั้งอีกแห่งหนึ่ง หลังโต๊ะแขวนรูปกวนอู เป็นที่น่าสังเกตได้ว่าศาลนี้เคยมีจีนมาปกครองแต่เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว ผู้ว่าราชการให้ผูใหญ่บ้านที่อยู่ใกล้มาดูแล..."

          แสดงว่ามีการยกเทวรูปเคารพจากพื้นดิน  ขึ้นตั้งบนโต๊ะบูชาแบบจีนในช่วงเวลาระหว่าง พ.ศ. ๒๔๒๗ ถึง พ.ศ. ๒๔๗๖  และมีชาวจีนเข้ามามีบทบาทในศาลพระเสื้อเมืองโดยมีการเพิ่มเทพเจ้าจีนคือ กวนอู เป็นรูปเคารพข้ามาด้วย และมีการตกแต่งสถานที่ด้วยศิลปแบบจีนในช่วงเวลานี้

ภาพจากเอกสารของเทศบาลเมือง

           ปี พ.ศ. ๒๕๐๕ เกิดวาตภัยครั้งใหญ่ ศาลเจ้าเดิมถูกพายุพัดจนเสียหายทั้งหลัง  ชาวจีนในเมืองนครศรีธรรมราชจึงได้ร่วมกันสร้างศาลขึ้นใหม่เป็นอาคารคอนครีต  หันหน้าไปทางทิศเหนือ

จัดให้มีการสมโภชเมื่อ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๐๘




          ยุคนี้จึงได้มีการนำเทพจีน 本頭公 คือ ปึงเถ่ากงและปึกเถ่าม่า(พระเสื้อเมืองพระทรงเมืองที่จีนรับอิทธิพลความเชื่อจากอินเดีย) เข้ามาประดิษฐานร่วมกับของรูปเคารพเดิม

การประดิษฐานรูปเคารพในศาลพระเสื้อเมืองยุคนี้




          ปีพ.ศ.๒๔๗๙ ศาลพระเสื้อเมือง 本頭公 ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานภายใต้การกำกับดูแลของกรมศิลปากร




          ปีพ.ศ.๒๕๕๒ คณะกรรมการศาลเจ้าพระเสื้อเมืองเห็นว่าศาลชำรุดทรุดโทรมและคับแคบ เห็นควรสร้างเป็นอาคารหลังใหม่และได้รับอนุญาตให้ดำเนินการได้ตามหนังสืออนุญาตลงวันที่  ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓
ศาลเสื้อเมืองปัจจุบัน พ.ศ. ๒๕๕๗