|
นายกังซิ้ว แซ่หว่อง |
ประวัติสมาคมฮากกานครศรีธรรมราช
2520 จากจุดเล็กๆ ของคนจีนภาษาแคะกลุ่มหนึ่งนำโดย นายกังซิ้ว แซ่หว่อง และคณะ ได้รวมตัวกัน พบปะพูดคุย เสวนา ดื่มกิน
ตามประสาของคนภาษาแคะ จากกลุ่มเล็กๆ ไม่กี่คน เรื่อยมาจนเป็นหลายๆ คน จึงเกิดเป็น
ชมรมจีนแคะนครศรีธรรมราช ขึ้น
จึงเป็นปีแห่งการเริ่มต้น เป็นปีแห่งรากฐาน ของ สมาคมฮากกานครศรีธรรมราชในปัจจุบัน
|
นายสินยง จงเฉลิมชัยฤกษ์ |
ต่อมานายสินยง จงเฉลิมชัยฤกษ์ หรือที่รู้จักกันในนาม ครูจง เนื่องจากนายสินยง จงเฉลิมชัยฤกษ์
ในอดีตมีอาชีพเป็นผู้รับจ้างสอนพิเศษภาษาจีนกลาง อีกทั้ง ยังเป็นผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์จีน “ ซิงเซียนเยอะเป้า ” และผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ไทยท้องถิ่น “ เมืองใต้ ” “ เสียงราษฎร์ ”
ด้วยความรักในเชื้อสายพันธุ์กำเนิดเป็นคนภาษาจีนแคะ เมื่อปี 2522 จึงเกิดความคิดริเริ่ม
ในการก่อตั้งสมาคมแคะขึ้นในจังหวัดนครศรีธรรมราช ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมคนภาษาแคะเข้าเป็นสมาชิกและสร้างความสัมพันธ์ให้ความรัก ความสามัคคี ทั้งยัง ส่งเสริมการศึกษาและวัฒนธรรม จึงได้ไปเรียนเชิญนายก๊กปิน แซ่จอง ซึ่งเป็นชาวอำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช และพี่น้องชาวแคะอีกจำนวนหนึ่งเข้าร่วมอุดมการณ์ด้วย
ต่อมา เมื่อปี 2523 พี่น้องชาวแคะจึงรวมตัวกันจัดตั้งขึ้นเป็นสมาคมแคะนครศรีธรรมราช เพื่อความสะดวกในการสัญจรจึงใช้บ้านพักของนายสินยง จงเฉลิมชัยฤกษ์ ย่านถนนวัดคิด ตำบลท่าวัง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นที่ตั้งของสมาคมฯ และได้เรียนเชิญนายก๊กปิน แซ่จอง เป็นนายกสมาคมฯ เรียนเชิญ ฯพณฯ สัมพันธ์ ทองสมัคร เป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ และได้จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย นับเป็นสมัยที่ 1 ทั้งนี้ ที่ประชุมยังมีมติให้สมาคมแคะนครศรีธรรมราชเป็นมิตรสัมพันธ์ส่วนหนึ่งของสมาคมจีนแคะแห่งประเทศไทย
ปี พ.ศ. 2510 สมาคมจีนแคะแห่งประเทศไทย ได้เปลี่ยนชื่อเป็น สมาคมฮากกาแห่งประเทศไทย และในปี พ.ศ. 2512 ที่ประชุมของสมาคมแคะนครศรีธรรมราช ก็มีมติให้
สมาคมแคะนครศรีธรรมราช เปลี่ยนชื่อเพื่อให้สอดคล้องกับสมาคมฮากกาแห่งประเทศไทย เป็น สมาคมฮากกานครศรีธรรมราช และได้ย้ายสำนักงานไปอยู่ ณ ที่แห่งใหม่ เลขที่ 29/2ใกล้กับตลาดสดเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ถนนปากนคร ตำบลท่าวัง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช จนถึงปัจจุบัน
การบริหารสมาคมฯ มีกำหนดให้สมาชิกที่ได้รับการเสนอชื่อจากที่ประชุมใหญ่ขึ้นมาคณะหนึ่งเป็นคณะกรรมการบริหาร และคณะกรรมการบริหารที่ได้รับการเสนอชื่อไปคัดเลือกนายกสมาคมและตำแหน่งต่างๆ ทั้งนี้ มีกำหนดเวลาการบริหารคราวละ 2 ปี
ต่อมา ในสมัยที่ 10 ปี พ.ศ. 2541 ได้มีมติจากที่ประชุมใหญ่ให้เปลี่ยนแปลงข้อบังคับบางข้อของสมาคม เช่น การเลิกสมาคมฮากกานครศรีธรรมราชทรัพย์สินทั้งหมดให้ตกเป็นของสมาคมฮากกาแห่งประเทศไทยและคณะกรรมการบริหารมีกำหนดเวลาบริหารคราวละ 4 ปี เป็นต้น
ปัจจุบันสมาคมฮากกานครศรีธรรมราช ได้ซื้อที่ดินตำบลปากพูน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เนื้อที่ 1 ไร่ 3 งาน 39 ตารางวา ในสมัยปีบริหารของนายกสมาคมพิชัย หวังดีศิริสกุล เพื่อเป็นที่ตั้งถาวรของสมาคมฮากกานครศรีธรรมราช และศาลเจ้าท่ามกุงหย่า ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของชาวฮากกา ต่อไป
ที่มา หนังสือที่ระลึกวันสถาปนาคณะกรรมการบริหาร สมัยที่ 14
ข้อมูลจาก คุณนันทวิทย์ พันทวีศักดิ์