วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2554
วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2554
วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2554
พิธีอัญเชิญส่งเสด็จพระนพเคราะห์
พิธีปิดงานเงานประเพณีกินเจเดือน 9 ปี 2554
วันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2554
ข้ามสะพานสะเดาะเคราะห์
พิธีข้ามสะพานสะเดาะเคราะห์
โดยมีอาคันตุกะจากชมรมกินเจบางรัก กทม.เดินทางมาร่วมงานอย่างคับคั่ง เช่นปีที่ผ่านมา
๔ ตุลาคม ๒๕๕๔
ดูภาพทั้งหมด >>>คลิ๊กที่นี่
วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554
วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554
ขบวนเทพออกโปรดลูกหลาน ๕๔
จากศาลเจ้ากวนอู
เทววิหารคุณธรรมสงเคราะห์ เต็กก่า จีคุงเกาะ
ศาลเจ้ากังฮู่อ๋องเอี๊ย
ศาลเจ้าโหงวเก๊ก
ศาลเจ้าพระเสื้อเมือง(ปึงเถ้ากง)
ศาลเจ้ามาโจ้ว
ออกโปรดลูกหลาน
ดูภาพทั้งหมด>>>>;คลิ๊กที่นี่
วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2554
พิธีเปิดงานกินเจเดือนเก้า ปี ๕๔
พิธีเปิดงานประเพณีกินเจเดือน 9 ประจำปี 2554
ดูประมวลภาพทั้งหมด >>> : คลิ๊กที่นี่
วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554
เส้นทางขบวน
งานกินเจเดือนเก้าเมืองนคร ประจำปี ๒๕๕๔
วัน เสาร์ที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๔
เวลา ๐๙.๐๐ น
ขบวนประกอบด้วย
๑.ขบวนเทิดพระ เกียรติ ๘๔ พรรษา
๒. ขบวนชมรมศาสนิกชนกินเจเดือนเก้าและศาลเจ้ากวนอู
๓. ขบวนเทววิหารคุณธรรมสงเคราะห์ เต็กก่า จีคุงเกาะ
๔. ศาลเจ้ากังฮู่อ๋องเอี๊ย
๕.ศาลเจ้าโหงวเก๊ก
๖.ศาลเจ้าพระเสื้อเมือง(ปึงเถ้ากง)
๗.ศาลเจ้ามาโจ้ว
ดู เส้นทางขบวนแห่ ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า
วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554
งานประเพณีกินเจเดือน 9 จังหวัดนครศรีธรรมราช ปี 2554
วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554
ทิ้งกระจาด
ประเพณีทิ้งกระจาด ครั้งที่ ๒๑
มูลนิธิมหากุศลใต้เต็กเซี่งตึ้ง นครศรีธรรมราช
ขอเชิญผู้มีจิตศรัทธาทุกท่านร่วมงาน
ประเพณีทิ้งกระจาด (ประกอบพิธีโยคะตันตระอุทิศ) ครั้งที่ ๒๑
วันอังคารที่ ๑๖ - พุธที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๔
กำหนดการ
วันอังคารที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๔
เวลา ๑๕.๐๐ น. พิธีลอยกระทงเวชิญวิญญาณ
เวลา ๑๙.๐๐ น. พระสงฆ์สวดพระอภิธรรม
เวลา ๒๐.๓๐ น. พิธีเดินธูปโปรดวิญญาณและสะเดาะเคราะห์เสริมดวง
วันอังคารที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๔
เวลา ๐๙.๐๐ น. พิธีเซ่นไหว้ดวงวิญญาณและแผ่นป้ายบรรพบุรษ
เวลา ๑๓.๐๐ น. พิธีโยคะตันตระอุทิศ โดยหลวงจีนธรรมรสจีนศาสน์ (เเย็นเฮา) เจ้าอาวาสวัดฉือฉาง หาดใหญ่
เวลา ๑๕.๐๐ น. ทิ้งกระจาดโปรยทาน
+++++++++++
วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
คนจีนแต้จิ๋วมาจากไหน
ชาวจีนเริ่มอพยพเข้ามาพำนักอาศัยในแผ่นดินที่ เป็นประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่สมัยสุโขทัย ดังปรากฏว่าได้มีการส่งคณะทูตจากจีนมายังราชสำนักแห่งอาณาจักรสุโขทัย และมีการส่งคณะทูตไทยไปยังปักกิ่งเช่นกัน ชาวจีนที่อพยพเข้ามาในระยะแรกส่วนใหญ่มาจากทางตอนใต้ของจีน เราอาจจำแนกชาวจีนอพยพจากกลุ่มภาษาและภูมิลำเนาได้ดังนี้
- กลุ่มจีนแต้จิ๋ว มาจากตะวันออกเฉียงเหนือของมณฑลกวางตุ้ง
- กลุ่มจีนฮกเกี้ยน มาจากตอนใต้ของมณฑลฝูเจี้ยน
- กลุ่มจีนไหหลำ มาจากตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไหหลำ
- กลุ่มจีนกวางตุ้ง มาจากตอนกลางของมณฑลกวางตุ้ง
- กลุ่มจีนแคะ มาจากตอนเหนือของมณฑลกวางตุ้ง
จากบันทึกทางประวัติศาสตร์ไทยกล่าวว่า ชาวจีนที่เดินทางมาไทยในสมัยอยุธยาส่วนใหญ่เป็นจีนฮกเกี้ยน มักมีอาชีพรับราชการ แต่หลังสมัยอยุธยาจะมีชาวจีนแต้จิ๋วอพยพเข้ามาเป็นจำนวนมาก จีนฮกเกี้ยนมีเป็นจำนวนมากแถบภาคใต้ของไทยในจังหวัดภูเก็ต ปัตตานี สงขลา และระนอง
สำหรับ จีนแต้จิ๋วอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ฉะเชิงเทรา และชลบุรีเป็นส่วนใหญ่ ชาวจีนแต้จิ๋วอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยเป็นจำนวนมากในระยะหลังปี พ.ศ. ๒๓๑๐ เนื่องจากได้รับการสนับสนุน และได้รับสิทธิพิเศษบางประการ เพราะพระเจ้าตากสินทรงมีพระบิดาเป็นชาวแต้จิ๋ว และชาวแต้จิ๋วได้มีบทบาทในการสู้รบเพื่อกอบกู้เอกราช
พวกแต้จิ๋วส่วนใหญ่จะอพยพมาทางเรือ และตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศไทย ได้แก่เมืองต่าง ๆ ในอ่าวไทยฝั่งตะวันออก ได้แก่ ตราด จันทบุรี บางปลาสร้อย (ชลบุรี) แปดริ้ว (ฉะเชิงเทรา) และในกรุงเทพฯ ต่อมาภายหลังในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ พวกแต้จิ๋วจึงขยับขยายออกไปตั้งถิ่นฐานใหม่นอกเขตดังกล่าว ได้แก่ อุตรดิตถ์ ปากน้ำโพ(นครสวรรค์) ตลอดจนพิจิตร พิษณุโลก สวรรคโลก เด่นชัยเมื่อมีการสร้างทางรถไฟไปถึงแก่งคอยและขึ้นไปทางเหนือในปี พ.ศ. ๒๔๕๑
เป็นการยากที่จะระบุจำนวนชาวจีนกลุ่มต่าง ๆ ในประเทศไทย แต่ยืนยันได้ว่าในบรรดาชาวจีนกลุ่มต่าง ๆ นั้น มีชาวจีนแต้จิ๋วมากที่สุด
ชื่อแต้จิ๋วนอกจากจะเป็นชื่อของกลุ่มชาวจีนที่พูดภาษาถิ่นเดียวกัน คือภาษาแต้จิ๋วแล้ว ยังเป็นชื่อเมืองเก่าแก่อันเป็นต้นกำเนิดของชาวแต้จิ๋วทั้งหลาย ได้แก่ เมืองแต้จิ๋ว (Teochiu) หรือเมืองเฉาโจว (Chaozhou) ตามที่ออกเสียงในภาษากลาง เมืองแต้จิ๋วเป็นเขตการปกครองที่เป็นศูนย์กลางของภาคตะวันออกของมณฑล กวางตุ้งมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๕ ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. ๔๑๓ ในราชวงศ์จิ้นตะวันออก เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ การปกครอง และวัฒนธรรมของภูมิภาคตลอดมา จนมีคำกล่าวกันว่า "หากมากวางตุ้งแล้วมิได้เห็นเมืองแต้จิ๋วก็เสียเที่ยวเปล่า"
เมืองแต้จิ๋วเป็นที่รู้จักกันดีในด้านทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ส้มแต้จิ๋ว ชาแต้จิ๋ว น้ำตาลแต้จิ๋ว ในด้านวัฒนธรรม เช่น อาหารแต้จิ๋ว งิ้วแต้จิ๋ว ผ้าปักลูกไม้แต้จิ๋ว ฯลฯ
ชื่อแต้จิ๋ว 潮州 เป็นชื่อโบราณ คำว่าเตีย (แต้ 潮 ) เป็นคำโบราณแปลว่า ทะเล คำว่า โจว (จิ๋ว 州) แปลว่า เมือง แต้จิ๋วจึงแปลว่าเมืองชายทะเล คล้าย ๆ ชื่อจังหวัดชลบุรีของไทยเรา ชาวจีนแต้จิ๋วรุนเก่า ๆ ที่อพยพมาเมืองไทยบางคนยังบอกว่าตนมาจากเมืองแต้จิ๋ว แต่คนรุ่นหลังจะเรียกชื่อใหม่คือชื่อเตี่ยอัน ซึ่งเป็นชื่อที่ออกสำเนียงแต้จิ๋วของอำเภอเฉาอัน (Chaoan) ปัจจุบันอำเภอเฉาอันคือที่ตั้งของเมืองแต้จิ๋วโบราณ เมืองแต้จิ๋วในระยะหลังเมื่อผ่านยุครุ่งเรืองแล้ว ได้กลายเป็นอำเภอเฉาอัน สังกัดเทศบาลนครซ่านโถว (ซัวเถา) จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๓๒ จึงได้รับการตั้งเป็นเทศบาลเมืองสังกัดมณฑลกวางตุ้ง รัฐบาลจีนได้ประกาศให้เมืองแต้จิ๋วเป็นเมืองประวัติศาสตร์ในปี พ.ศ. ๒๕๒๙
อย่างไรก็ตาม เขตวัฒนธรรมแต้จิ๋วมิได้มีขอบข่ายอยู่เฉพาะเมืองแต้จิ๋ว เมื่อครั้งที่แต้จิ๋วยังเป็นมณฑล มีอำเภออยู่ในสังกัดอำเภอเหล่านั้นก็ล้วนเป็นเขตวัฒนธรรมแต้จิ๋ว และเป็นบริเวณที่คนไทยเคยได้ยินชื่อคุ้นหูทั้งสิ้น เช่น เท่งไห้ ซัวเถา โผ่วเล้ง ฯลฯ อำเภอเฉิงห่าย หรือเท่งไห้ เป็นอำเภอสำคัญ เพราะได้มีท่าเรือใหญ่เกิดขึ้นที่นี่ในต้นราชวงศ์หมิง (คริสต์ศตวรรษที่ ๑๕) ชื่อว่าจางหลิน หรือ จึงลิ้ม ชาวแต้จิ๋วที่อพยพมาเมืองไทยในช่วงแรก ๆ ล้วนลงเรือที่ท่าจางหลินทั้งสิน ในสมัยต่อมาเมื่อมีการเปิดท่าเรือซัวเถาที่เมืองซัวเถาหรือซานโถว (Shantou) ชาวแต้จิ๋วจึงออกเดินทางจากท่าเรือซัวเถา เมืองซัวเถากลายเป็นศูนย์กลางของเขตวัฒนธรรมแต้จิ๋วและยังเป็นมาจนทุกวันนี้
ข้อมูลทั้งหมดนี้ ได้มาจากข้อเขียนของ สุภางค์ จันทวานิชรายงานการวิจัยเรื่อง ชาวจีนแต้จิ๋วในประเทศไทยและในภูมิลำเนาเดิมที่เฉาซัน : สมัยที่หนึ่ง ท่าเรือจางหลิน (๒๓๑๐-๒๓๙๓)
“ข้อมูลสนับสนุนจาก หนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม / สำนักพิมพ์สารคดี”
วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
งานเลี้ยงฉลองการประชุม
กิจกรรมเลี้ยงฉลอง
ประชุมสันนิบาตสมาคมแต้จิ๋วสัมพันธ์ภาคใต้ ครั้งที่ 3
16 กรกฎาคม 2554
ดูภาพเพิ่ม 查看更多 : http://2prophoto.com/Picture1/TaeJew54/index.html
++++++
ประชุมสันนิบาตสมาคมแต้จิ๋วสัมพันธ์ภาคใต้
ฯพณฯ หวางช่านเฟิน
กงสุลใหญ่แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำสงขลา
ประธานเปิดการประชุม
ประชุมสันนิบาตสมาคมแต้จิ๋วสัมพันธ์ภาคใต้ ครั้งที่ 3
16 กรกฎาคม 2554
ดูภาพเพิ่ม 查看更多 : https://picasaweb.google.com/kuanu52/TaeJew542
======
วันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
เลี้ยงต้อนรับ
รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช
สันนิบาต สมาคมแต้จิ๋วสัมพันธ์ภาคใต้
ครั้งที่ ๓๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๔
ดูภาพเพิ่ม 查看更多 : https://picasaweb.google.com/kuanu52/TaeJew54